ข่าวกิจกรรม

          เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรีรัตน์ สร้อยศรี หัวหน้าหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 ในหัวข้อ A Multipurpose Classroom Capture by Design : Hybrid/Virtual Live Stream Production and Management ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา


         

  

ในระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จัดโครงการศึกษาดูงานแหล่งวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และบูรณาการแนวความคิดเชิงสร้างสรรค์การศึกษาดูงานครั้งนี้นำโดย ดร.ธวัชชัย สารวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณาจารย์ เข้าศึกษาดูงานการผลิตเครื่องถมนคร ณ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดยศึกษากระบวนการผลิตจากวิทยากรช่างฝีมือ แบบวิธีโบราณ ลักษณะงานถมนครจะมีสีดำ เงางาม สลักลวดลายมีความละเอียด จุดเด่นของเครื่องถมนครนั้นคือ ยาถม มีสีดำเงางามจนเรียกติดปากว่า "ถมนคร"


เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศาสนา ประณีตศิลป์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราชร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมเข้าสักการะ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ศึกษาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น     รำมโนราห์ วิธีการแต่งกาย การร้อง การรำ การใช้เครื่องดนตรี การสร้างสรรค์เลือกใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น ซึ่งท่านวิทยากรเป็นผู้ที่มีความรู้ และมีประสบการณ์สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี


ในการเข้าศึกษาดูงานนี้ เป็นการบูรณาการภูมิปัญญาสู่การศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ตระหนักในคุณค่า เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปสู่การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้ครอบคลุมทุกวิชาชีพและสาระรายวิชา


            

            

         วันที่ 17 มกราคม 2566 ดร.ธวัชชัย สารวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการส่งเสริมทักษะปฏิบัติการทา'วิทยาศาสตร์ (ด้านชีววิทยา) โดยมีทีมคณาจารย์จากสาขาวิชาชีววิทยาร่วมกันเป็นวิทยากรภาคบรรยาย และควบคุมการทำปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จำนวน 29 คน ซึ่งในโครงการนี้ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้ฝึกทักษะปฏิบัติการใช้กล้องจุลทรรศน์ การเตรียมตัวอย่างจากพืช การศึกษาเนื้อเยื่อพืชรวมถึงการจำแนกประเภทเนื้อเยื่อพืชประเภทต่างๆ ตลอดจนฝึกทักษะการถ่ายภาพเนื้อเยื่อพืชภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


  

  

                 วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 13.00 น. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ดร.ปิยะ ถิรพันธุ์เมธี ให้การต้อนรับตัวแทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย Nanyang Normal University จากสาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดยอาจารย์ Cao Luman ผู้อำนวยการฝ่ายแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการนี้ผู้บริหารจาก 2 มหาวิทยาลัย ได้หารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการที่ได้ดำเนินการร่วมกันมากว่า 3 ปี  และเสนอแนะแนวทางความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตทั้งด้านการจัดการศึกษา การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา เพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา และการวิจัยระหว่างสองมหาวิทยาลัย


  

  

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ และหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจการสนับสนุนการจัดการศึกษาและความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและภาพยนตร์ ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ บริษัท เวลา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด โดย รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และคุณพัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์ ประธาน บริษัท เวลา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ลงนาม  โดยมี ดร.ธวัชชัย สารวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณฐณัคชล ทองเพ็ง เป็นพยาน ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย และวิชาชีพร่วมกันระหว่างบริษัทและมหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการจัดสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ และส่งเสริมการจัดการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์


  

  

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 สาขาวิชาเคมี จัดโครงการพัฒนาความรู้ด้านเคมีและการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เพื่อบริการวิชาการให้กับครูและนักเรียนจากโรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม กิจกรรมประกอบไปด้วยการผลิตเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ การผลิต solid sugar scrub และการผลิตสบู่เหลวล้างมือสูตรอ่อนโยน ซึ่งจัดที่ห้องปฏิบัติการเคมี วิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

          โครงการนี้ทำให้ครูอาจารย์และนักเรียนได้ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ในการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม และได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลับไปใช้ ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต